
การจัดซื้อจัดจ้าง
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการบริหารงานจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งเน้นคุณภาพสินค้าและบริการ โดยกำหนดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง โดยคำนึงถึงคุณภาพ ปริมาณ การส่งมอบสินค้า และบริการที่ได้รับ รวมถึงข้อกำหนดตามกฎหมาย และระบบจัดการคุณภาพต่างๆ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ปริมาณ การส่งมอบสินค้าและบริการ รวมทั้งความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กร มีการจัดทำระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างต่อคู่ค้าขอบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งคู่ค้าและพนักงานยึดถือและปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด โดยมีเนื้อหาและขอบเขตของแนวทางการปฏิบัติภายใต้ระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมทั้งทางด้าน จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมตามหลัก บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยพิจารณาจากคุณภาพ ราคา ปริมาณ การให้ บริการ และความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ ตลอดจนการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- บริษัทฯ ปฏิบัติต่อคู่ค้าและผู้รับเหมาทุกรายด้วยความเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน เพียงพออย่างเท่าเทียมกัน
- บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- บริษัทฯ มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและ ทางอ้อม
- หากคู่ค้าและผู้รับเหมาพบว่าบุคลากรของบริษัทฯ มีการดำเนินการใดๆ ที่ไม่โปร่งใส หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องแจ้งบริษัทฯ ทราบทันที
ทั้งนี้ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทฯ มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการบริหารงานจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด
พนักงานของบริษัทฯ จะต้องยึดถือและต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- พนักงานต้องทำการซื้อขายโดยซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจ
- พนักงานต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ของกิจการ
- พนักงานต้องหลีกเลี่ยงการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- พนักงานต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่รังเกียจเดียดฉันท์ เพื่อให้เกิดคุณค่าแก่รายจ่ายที่ได้จ่ายไป
- พนักงานต้องให้คำปรึกษาและช่วยแนะนำผู้ซื้อ
- พนักงานต้องต้อนรับคู่ค้าอย่างสุภาพ
- พนักงานต้องแสวงหาความรู้เกี่ยวกับวัสดุ เทคโนโลยี สภาวการณ์ของตลาด และกระบวนการผลิต
- พนักงานต้องรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- พนักงานต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทุกหน่วย
การรวบรวมปริมาณการใช้งานที่ได้มาตรฐานและแม่นยำ
การประมาณการปริมาณงานชัดเจน
การคัดกรองคุณสมบัติคู่ค้าเบื้องต้น
คัดกรองคู่ค้าที่มีขนาดธุรกิจเดียวกัน คุณสมบัติใกล้เคียงกัน อยู่กลุ่มเดียวกัน
การประเมินศักยภาพคู่ค้า
ประเมินศักยภาพ ประสบการณ์ ผลงานตรงกับงานที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้าง
การกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง
คณะทำงานร่าง TOR พร้อมรายละเอียดส่งมอบให้คู่ค้าทุกรายเหมือนกัน
การกำหนดราคากลางในการประมูล
มีมาตรฐานในการพิจารณาราคาที่เป็นมาตรฐานที่ดี มีความเที่ยงตรงในการกำหนดราคากลาง แยกตามประเภทสินค้าและบริการ
การลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
คู่ค้าที่ชนะการประมูลและสรุปราคาขั้นสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว รอนัดหมายจากฝ่ายกฎหมายเพื่อลงนามสัญญาร่วมกันต่อไป
การติดตามและประเมินผลคู่ค้า
หากคู่ค้ารายใดที่ทำตามผลงานที่ทำได้ 75% ขึ้นไป จะได้รับการเชิญเข้าร่วมงานประมูลในครั้งต่อๆ ไป
บริษัทฯ กำหนดมาตรการบริหารจัดการคู่ค้า เพื่อให้การดำเนินงานของคู่ค้าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สามารถตอบสนองความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น บรรลุเป้าหมาย โดยสามารถรักษาคุณภาพของสินค้า/บริการ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างคู่ค้าและบริษัทฯ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความตระหนักแก่คู่ค้าถึงจุดยืนขององค์กรด้านความยั่งยืน

บริษัทฯ มีมาตรฐานการคัดเลือก ประเมิน และตรวจสอบคู่ค้าอย่างยุติธรรมและโปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาล ความมั่นคงทางธุรกิจ และความเชื่อถือได้ของคู่ค้า รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี โดยมีการบริหารจัดการคู่ค้า ประกอบด้วย
- ระบบจัดการความเสี่ยงของคู่ค้าของบริษัทฯ ประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงในสายโซ่อุปทาน การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในสายโซ่อุปทาน (Spend Analysis) เพื่อระบุผู้ค้าที่มีความสำคัญในสายโซ่อุปทาน และจัดทำทะเบียนคู่ค้า (Approved Vender List: AVL) โดยใช้แบบสอบถาม (Vender Questionnaire) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
- ความสามารถทางเทคนิค (Technical)
- ความสามารถในการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ (QA/QC)
- ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SHE) และ
- การเงิน (Financial) รวมถึงการประเมินด้านจริยธรรมและการดำเนินตามกฎหมายแรงงาน
- การจัดทำทะเบียนคู่ค้า (Approved Vendor List : AVL) เพื่อคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพร่วมธุรกิจ
- หลังจากได้เข้าร่วมทะเบียนคู่ค้าแล้ว บริษัทฯ คู่ค้าจะต้องผ่านการประเมินประสิทธิภาพการทำงานรายปี (Yearly Performance Evaluation) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในรูปแบบการประเมินตนเองและการตรวจรับรอง Site Audit ตามเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนดให้ตามประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ อีกทั้งในระหว่างปีหน่วยงานผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนและนำเสนอปัญหาที่เกิดจากการใช้งานหรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กร โดยบริษัทฯ จะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา และให้คำแนะนำประกอบกับวางแผนพัฒนาศักยภาพคู่ค้าร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงานและคู่ค้าก่อนการประเมินอีกครั้ง ทั้งนี้ หากคู่ค้าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดได้ บริษัทฯ จะระงับการจัดซื้อจัดจ้างชั่วคราวหรือถอนชื่อออกจากทะเบียนคู่ค้าของบริษัทฯ
การบริหารจัดการทะเบียนคู่ค้าอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการทะเบียนคู่ค้าและคณะทำงานทะเบียนคู่ค้า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงในการส่งมอบสินค้า บริษัทฯ ได้กำหนดเงื่อนไขในข้อกำหนด (TOR) ให้การดำเนินการของคู่ค้าต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีการควบคุมดูแลให้คู่ค้าปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยเฉพาะงานที่มีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยมีการจัดทำโครงการประเมินความเสี่ยงของงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมา (Contractor Management) เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีศักยภาพ หากคู่ค้าได้คะแนนไม่ผ่านตามที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก
บริษัทฯ ตระหนักถึงการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย บริษัทฯ จึงให้ข้อมูลที่เป็นจริง รายงานที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามพันธสัญญา การเจรจาแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางธุรกิจ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
- พนักงานจะต้องป้องกันข้อมูลความลับของบริษัทฯ ขณะดำเนินการติดต่อธุรกิจกับผู้ขายอย่างเคร่งครัดโดยต้องรักษาข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากผู้เสนอราคาหรือเข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายไว้เป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ
- พนักงานจะต้องรักษาความลับที่ได้รับจากผู้ขาย เช่น ข้อมูลราคา สิทธิบัตร ตารางการผลิตและข้อมูลผลิตภัณฑ์ จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต (Respect the Confidentiality of Information)
- พนักงานจะต้องทำการเรียกสอบราคา เปรียบเทียบราคา คุณภาพ เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความยุติธรรมในการแข่งขัน และไม่สอบหรือประกวดราคาแบบ “Covert Auctions” ซึ่งเป็นการกระทำที่ฉ้อฉล กล่าวคือ เปิดเผยราคาของผู้ขายรายที่ 1 เพื่อให้ผู้ขายรายที่ 2 สู้ราคา แล้วนำราคาใหม่ของผู้ขายรายที่ 2 ไปต่อรองกับผู้ขายรายที่ 1 เพื่อให้เสนอราคาต่ำกว่า เป็นต้น
- พนักงานจะต้องรักษาความสัมพันธ์กับผู้ค้าในเชิงธุรกิจด้วยความเสมอภาค ไม่เรียกร้อง ไม่รับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
- พนักงานจะต้องปฏิบัติต่อผู้ขายทุกรายอย่างเสมอภาคและยุติธรรม เช่น ได้รับแจ้งข่าวการประกวดราคาเหมือนกันและในเวลาเดียวกัน
- พนักงานจะต้องมีความโปร่งใสในการเชิญชวนผู้ขายให้เสนอราคาหรือเข้าประกวดราคา (Transparency in Criteria of Invitation to Tender) เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมกับผู้ค้าทุกราย
- พนักงานจัดซื้อต้องมีความโปร่งใสในการใช้วิธีการพิจารณาราคาที่ผู้ขายส่งเข้าประกวด (Transparency in Evaluating Bids) และสามารถชี้แจงได้ว่าพิจารณาการประกวดราคาตามหลักเกณฑ์อย่างไรและผู้ขายรายใดชนะการประกวดราคา (Transparency in Evaluating the Successful Supplier)
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักของความสมเหตุสมผล
- บริษัทฯ จะไม่เอาเปรียบคู่ค้า โดยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านชื่อเสียงและภาพพจน์ของบริษัทฯ ต่อสายตาของบุคคลภายนอกด้วย
- พนักงานผู้ดำเนินการจัดหาจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วนแก่คู่ค้า ด้วยวิธีการที่เปิดเผยและให้โอกาสแก่คู่ค้าอย่างเท่าเทียมกัน
- เจรจาต่อรองบนพื้นฐานของความสัมพันธ์เชิงธุรกิจเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายอย่างเปิดเผยและมีหลักฐาน
- พนักงานผู้ดำเนินการจัดหาควรรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะใดๆ ที่คู่ค้าร้องเรียนหรือแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
บริษัทฯ มีกระบวนการตรวจสอบและประเมินคู่ค้า เพื่อประเมินความเสี่ยง กำหนดแผนการแก้ไข ประเมินผลภายหลังดำเนินการแก้ไขตามแผนร่วมกัน โดยคำนึงถึงคุณภาพ/ปริมาณ/ความปลอดภัยในการผลิตและส่งมอบตามข้อกำหนดเบื้องต้น รวมถึงข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานการจัดการต่างๆ
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และตามหลักบรรษัทภิบาล ควบคู่ไปกับการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลในทุกๆ ด้าน อยู่ร่วม กัน เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังได้เผยแพร่นโยบายนี้ และสนับสนุนส่งเสริมให้คู่ค้านำหลักการดังกล่าว ไปปฏิบัติ เพื่อขยายผลออกไปสู่สังคมในวงกว้างด้วย ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า ครอบคลุมถึงด้านต่างๆ ดังนี้
- จรรยาบรรณด้านธุรกิจ
- จรรยาบรรณด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน
- ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม
- การตระหนักด้านความเสี่ยง Risk Awareness